มารู้จัก app ใหม่ Find My กันเถอะ   

Find-My

Find-My  รู้กันหรือไม่ว่าตอนนี้ทาง Apple ได้ออกฟีเจอร์ใหม่เป็นการใช้โปรแกรมติดตามตัวเพื่อค้นหาเวลาเครื่องหาย ว่าตอนนี้เครื่องที่หายอยู่ที่ไหนได้โดยที่ ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตก็สามารถตามได้แล้วนะจ๊ะซึงข้อมูลที่จะแนะนำการใช้งานในวันนี้ เป็นการแนะนำการใช้งาน Find My ใน IOS 13  เรามาดูกันว่าเราสามารถตั้งค่าอย่างไรได้บ้าง

ตอนนี้ทาง Apple ได้มีการนำ application  2 ตัวคือ Find my iphone และ Find my Friend

มารวมกันไว้ใน app เดียวจึงมีการเรียกชื่อ app ใหม่นี้ว่า Find My ซึ่ง app ตัวนี้จะสามารถหา iphone  ipad mac ได้ถึงแม้ว่าจะไม่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตก็ตามและนอกจาก Find My จะสามารถเช็คได้ว่าอุปกรณ์ที่เราต้องการหาอยู่จุดไหนได้แล้ว ยังสามารถการตั้งค่าล็อคเครื่องได้ด้วยหากอุปกรณ์นั้นสูญหายและยังสามารถทำได้ทั้งหมดที่ app find my Iphone ทำได้ทุกอย่าง 

นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มคุณสมบัติพิเศษด้วยการทำ Offline Finding นั้นก็คือถึงแม้จะอุปกรณ์นั้นจะไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตก็ยังสามารถค้นหาอุปกรณ์นั้นเจอได้เช่นกัน

อย่ารีบเข้าใจผิดว่าตัวโปรแกรม Offline Finding นี้จะทำงานได้ถึงแม้จะปิดเครื่องนะคะ เพราะความจริงแล้วถึงแม้จะบอกว่าหากไม่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เช่น wi-fi หรือ cellular   แต่ก็ยังต้องมีการเปิดการใช้งาน Bluetooth เอาไว้นะคะ ถ้า Bluetooth ไม่เปิดฟีเจอร์นี้ก็จะทำงานไม่ได้เช่นกันค่ะ

         วิธีการใช้งาน offline finding นั้นตัวเครื่องจะต้องเปิดฟีเจอร์offline finding และ Bluetooth เอาไว้ซึ่งหลักการหาข้อมูลคือ เครื่องจะมีการส่งสัญญาณไปยังเครื่องอื่นๆของเครือข่าย apple ด้วยกันเพื่อส่งพิกัดมาแจ้งให้เราทราบ แต่ไม่ต้องตกใจว่าคนอื่นจะรู้ที่อยู่ของเราผ่านสัญญาณ Bluetooth นะคะ เพราะตราบใดที่เขาไม่รู้ข้อมูล Apple ID ของเรา เขาจะไม่มีทางรู้ได้ค่ะ

          ขั้นตอนการเปิดใช้งาน Offline Finding คือเข้าไปที่การตั้งค่า  เลือกไปที่ apple id จะมีคำว่า Find My หลังจากนั้นเลือกไปที่ Find My iphone กดเลือก Enable offline Finding กดเลือกเปิดใช้งาน หลังจากนั้นกลับมาที่ การตั้งค่าอีกครั้ง แล้วเลือกกดเปิดใช้งาน Bluetooth แค่นี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้นวิธีการเปิดใช้งานแล้วค่ะ

สำหรับฟีเจอร์ Find My นี้ รองรับการค้นหาข้อมูลเครื่องของระบบของ apple ได้ทั้งหมด แต่มีเงื่อนไขอย่างหนึ่งคือทุกเครื่องจะต้องใช้ระบบ ios 13  ขึ้นไปเท่านั้น

          นี่เป็นอีกฟีเจอร์ใหม่ดีๆที่ทาง apple ออกมาให้เราได้ใช้งานกัน สำหรับสาวก apple อย่าลืมทดลองเข้าไปใช้งาน ฟีเจอร์นี้กันนะคะ ที่นี้ต่อให้เครื่องเราหายไปไหน ก็สามารถตามหาเจอได้แน่นอน 

Windows Server 2012 R2

Windows-Server

Windows-Server เนื้อหานี้เราจะเริ่มต้นทำความรู้จักกับ Windows Server 2012 R2 ในรุ่นต่างๆ การเตรียมความพร้อมในการติดตั้งการใช้งาน และการติดตั้งการใช้งาน Windows Server 2012 R2 กันทีละขั้น

ผลิตภัณฑ์ Windows Server 2012 R2 รุ่นต่างๆ

ก่อนที่จะเริ่มติดตั้งการใช้งาน Windows Server 2012 R2 เราจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับรุ่นของผลิตภัณฑ์ เพื่อสามารถรองรับกับระบบเครือข่ายของเราได้อย่างถูกต้อง ซึ่งมี 4 รุ่นด้วยกัน คือ Foundation, Essentials, Standard และ Datacenter

– Foundation สำหรับการใช้งานทั่วไปที่มียูสเซอร์ไม่เกิน 15 คน ไม่มีไลเซนส์ในการรัน Virtualization จะขายเวอร์ชั่นนี้ผ่าน OEM เท่านั้น

– Essentials เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กหรือผู้ใช้ตามบ้านที่มียูสเซอร์ไม่เกิน 25 คน มีการกำหนดค่าการเชื่องต่อกับเซอร์วิสบนกลุ่มคลาวด์ไว้ล่วงหน้า ไม่มีไลเซนส์ในการรัน Virtualization

– Standard มีคุณสมบัติการทำงานครบ สนับสนุนการรัน Virtualization เพียง 2 อินสแตนซ์

– Datacenter มีคุณสมบัติการทำงานเหมือน Standard และสนับสนุนการรัน Virtualization ไม่จำกัด

 

ทรัพยากรที่ระบบต้องการ

สเปกขั้นต่ำของคอมพิวเตอร์ที่จะสามารถติดตั้ง Windows Server 2012 R2 ได้ แต่ประสิทธิภาพในการทำงานที่แท้จริงจะขึ้นอยู่กับการกำหนดค่าระบบ แอพพลิเคชั่นที่ใช้งาน และคุณสมบัติการทำงานที่เราติดตั้ง

– ซีพียู / 1.4 GHz 64 บิต

– แรม / 512 MB

– พื้นที่ว่างบนฮาร์ดดิสก์ / 32 GB

ส่วนสเปกของเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ที่สามารถใช้ Windows Server 2012 R2 Essentials ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้กับเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ Windows Server 2012 R2 Standard หรือ Windows Server 2012 R2 Datacenter ได้เช่นกันโดยขึ้นอยู่กับคุณสมบัติการทำงานที่ติดตั้งใช้งาน

– ซีพียู

*สเปกขั้นต่ำ / 1.4 GHz 64-bit Single Core, 1.3 GHz 64-bit Multi Core

*สเปกแนะนำ / 3.1 GHz 64-bit Multi Core

– แรม

*สเปกขั้นต่ำ / 2 GB, 4 GB ถ้าติดตั้งบน Virtual machine

*สเปกแนะนำ / 16 GB

– พื้นที่ว่างบนฮาร์ดดิสก์

*สเปกขั้นต่ำ / 160 GB

*สเปกแนะนำ / 500 GB

ข้อแนะนำเพิ่มเติม

ฮาร์ดดิสก์ จะต้องเผื่อขนาดความจุไว้สำหรับแอพพลิเคชันเซิร์ฟเวอร์, ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ รวมทั้งการเก็บข้อมูลต่างๆ ควรมีความจุอย่างน้อย 500 GB กรณีที่จะติดตั้ง RAID ก็ควรเลือกฮาร์ดดิสก์ที่มีความเร็วรอบสูงๆ เช่น 7200 RPM คือรอบต่อนาที (Round per Minute) หรือใช้ฮาร์ดดิสก์ 10,400 RPM

แรม ถ้าจะใช้งาน Virtualization (Hyper – V3) จะต้องติดตั้งหน่วยความจำ RAM ไว้มากๆ อย่างต่ำ 16 – 64 GB และมีพื้นที่เหลือบนฮาร์ดดิสก์ 50 – 100 GB

ซีพียู หากมีจำนวนยูสเซอร์ที่เข้ามาใช้งาน 100 คนขึ้นไป ก็ต้องเลือกใช้ซีพียูความเร็วสูงขนาด 2.8 GHz ขึ้นไป และเป็นแบบ Quad – core หรือ Elight – core

คำศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 

คำศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

คำศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  ABR

ย่อมาจาก Available Bit Rate, อัตราการรับ-ส่งข้อมูลที่ปรับเปลี่ยนความเร็วได้โดยทั่วไปในระบบเครือข่ายจะมีการปรับอัตราการรับ-ส่งคงที่แต่งบางเครือข่ายจะมีการสร้างวงจรทั้งแบบอัตราคงที่และอัตราที่แปรเปลี่ยนได้

ABS

ย่อมาจาก ABSolute value, ค่าสัมบูรณ์,คำสั่งในภาษาโปรแกรมรวมทั้งในโปรแกรมสเปรดชีต (Spreadsheet) เช่น
โปรแกรมเอ็กเซล absolute addressing หมายเลขที่อยู่สัมบูรณ์, การบอกตำแหน่งในหน่วยความจำโดยตรง, ตำแหน่งอุปกรณ์ต่อพ่วงหรือตำแหน่งภายในอุปกรณ์

 


absolute coding

รหัสสัมบูรณ์,การเขียนโค้ดโปรแกรมเพื่อระบุตำแหน่งจริงลงไปในหน่วยความจำหลักabsolute referenceแอดเดรสหรือตัวชี้ที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ตัวอย่างเช่น ในสเปรดชีตหากเซลล์มีการอ้างอิงแบบสัมบูรณ์
เมื่อมีการคัดลอกหรือย้ายสูตรจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งสูตรดังกล่าวก็จะยังคงเหมือนเดิม

absolute URL
กำหนดอินเทอร์เน็ตแอดเดรสในแบบสัมบูรณ์ให้กับหน้าเอกสารไม่ว่าจะเป็นไดเรกทอรีหรือไฟล์ของเว็บไซต์ ตรงข้ามกับ relative URL absolute value

ค่าสัมบูรณ์ (ดูที่ ABS)
access pointสถานีฐานในระบบแลนแบบไร้สาย ปกติแล้ว access pointจะเป็นอุปกรณ์ที่ทำงานได้โดยลำพังซึ่งจะมีปลั๊กเสียบลงในอินเทอร์เน็ตฮับหรือเซิร์ฟเวอร์เหมือนกับระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์ ยูสเซอร์สามารถเดินทางไปตามที่ต่างๆ พร้อมด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่และสามารถเปลี่ยนจาก access point หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้


access time

ช่วงเวลาเข้าถึงข้อมูล, เวลาที่คอมพิวเตอร์ใช้สำหรับการเข้าถึงข้อมูล,ช่วงเวลาตั้งแต่ขอข้อมูลจากอุปกรณ์เก็บข้อมูล เช่น ดิสก์ หรือหน่วยความจำจนกระทั่งข้อมูลเดินทางมาถึงตัวอุปกรณ์ที่ขอ

ได้แก่เวลาในการดึงข้อมูลจากหน่วยความจำ
คือช่วงเวลาที่ใช้ส่งตัวอักขระไปมากับโปรเซสเซอร์ ค่าที่ใช้มีหน่วยเป็นเวลา เช่นใช้เวลาในการดึงข้อมูลจากแรมไม่เกิน 80 นาโนวินาที

เวลาในการดึงข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์คือช่วงเวลาที่วางหัวอ่าน/เขียนลงบนข้อมูลที่ต้องการโดยใช้เวลาในการดึงข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ไม่เกิน 15 มิลลิวินาที

 

 

Active matrix

จอแสดงผลแบบ LCD ของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบวางตักที่ใช้ดีกว่าและแพงกว่าแบบpassive matrix จอแสดงผลแบบนี้มีทรานซิสเตอร์แยกไปควบคุมจุดต่างๆบนจอภาพเพื่อให้มีคุณสมบัติดังนี้ คือ มีสีตัดกันอย่างเด่นชัด มองภาพในมุมกว้างได้มีสีชัดเจน เป็นจอภาพที่มีอัตราการแสดงผลซ้ำได้เร็วและไม่แสดงผลเป็นเส้นๆหรือเงาที่มักเป็นกันในจอภาพที่ใช้เทคโนโลยี LCD ที่มีราคาถูก คำนี้มักใช้ในคำว่าactive matrix screen